‘ธนาคารโลก’หารือ ‘รมว.คลัง-รมว.คมนาคม’ หนุนฟื้นเศรษฐกิจไทย

วันที่ 19 ก.ย. นางมานูเอลา วี. เฟอโร (Manuela V. Ferro) รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้เข้าพบ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการสนับสนุนของธนาคารโลกต่อลําดับความสําคัญด้านการพัฒนาของประเทศไทย

ระหว่างการเยือนประเทศไทยครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กันยายน คุณเฟอโร ได้พูดถึงประเทศไทยว่า อัตราการฉีดวัคซีนสูง การเปิดประเทศและยุทธศาสตร์ในการฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิดที่ประสบความสำเร็จในการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น

ซึ่งความท้าทายเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับมาตรการด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับกับภาวะเงินเฟ้อที่มีอัตราสูงและราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก รวมถึงความพยายามของประเทศไทยในรูปแบบต่างๆเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการลงทุนรวมไปถึงการลงทุนในโครงการต่างๆที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ หรือยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

สำหรับการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้นได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นความสำคัญของประเทศไทยในฐานะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ที่กำลังจะมาถึงระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้ และความจำเป็นของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในประเทศไทยและการเชื่อมต่อภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแนวทางต่างๆ ที่ธนาคารโลกสามารถให้การสนับสนุนในวาระนี้ได้

“อัตราการเติบโตที่สูงของประเทศไทยสามารถช่วยลดความยากจนจาก 65% ในปี พ.ศ. 2531 เป็น 9% ในปี พ.ศ.2561 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเมื่อล่าสุดราคาพลังงานและราคาอาหารทั่วโลกได้พุ่งขึ้น  รวมถึงอัตราดอกเบี้ยก็ได้เพิ่มสูงขึ้นอีก ส่งผลให้การเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไป แต่รัฐบาลไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์รุนแรงเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี พวกเราจากธนาคารโลกหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต่อไป” มานูเอลา วี. เฟอโร กล่าว

ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว โดยได้รับการสนับสนุนจากการบริโภคของภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีเกินคาด อ้างอิงตามรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุดของธนาคารโลก (Thailand Economic Monitor) อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่ช้าที่สุดในบรรดาประเทศหลักๆ ในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตรา 2.4% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 หลังจากที่มีการเติบโตในอัตรา 1.5% ในปี 2564 การผ่อนคลายนโยบายการเดินทางในหลายๆประเทศช่วยกระตุ้นให้ภาคการท่องเที่ยวค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมา ความพยายามของประเทศไทยในการสร้างความหลากหลายด้านเศรษฐกิจจะช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรงในอนาคตได้

ธนาคารโลกมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลไทยมายาวนานกว่า 70 ปี โดยมีการให้เงินกู้แก่ประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 เพื่อปรับปรุงระบบขนส่งของประเทศไทย รวมถึงปรับปรุงทางรถไฟ ท่าเรือ และทางหลวง และสนับสนุนโครงการชลประทานที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ปัจจุบันการมีส่วนร่วมของธนาคารโลกในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับการหารือด้านนโยบายเศรษฐกิจ ความช่วยเหลือด้านเทคนิคโดยให้คําปรึกษาด้านวิชาการ และการสนับสนุนการดำเนินการในประเด็นที่หลากหลาย อาทิ รักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูงได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษา การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อพัฒนาการอํานวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจ.